ประวัติตำบล
ข้อมูลศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาแสง
ที่ตั้ง
กศน. ตำบลนาแสง ตั้งอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยศรี หมู่ที่ 8 ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ อยู่ทางทิศตะวันออกของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีวิไล ไปทางถนนสายศรีวิไล-นาแสง ระยะทางห่างจากจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีวิไล ประมาณ 16 กิโลเมตร
2. สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดบึงกาฬ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอศรีวิไล (ศบอ.ศรีวิไล) กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนเมื่อ พ.ศ. 2541 โดยอาศัยอยู่กับองค์การบริหารส่วนตำบลนาแสง
ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล โดย นายพิทักษ์ ราชาทุม เป็นหัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอศรีวิไล พร้อมกับครู ศูนย์การเรียนชุมน คือ นาย สันติ หอมสมบัติ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้ย้ายศูนย์การเรียนชุมชนมาอยู่ที่ศาลามูลมังอิสาน ณ วัดโพธิ์ชัยศรี โดยมีนาย วิทยา พิสัยพันธ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีวิไล พร้อม ครูศูนย์การเรียนชุมชน คือ นาย สันติ หอมสมบัติ และในปี 2553 มีผู้บริหารมารับตำแหน่งคือนาย จตุพร วันชูยศ เป็นผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีวิไล และมีนาย กัมปนาท ราชวงศ์ รับตำแหน่งหัวหน้า กศน.ตำบลนาแสง มาจนปัจจุบัน
จำนวนนักศึกษาสายสามัญ
ระดับประถมศึกษา - คน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 20 คน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 48 คน
รวมทั้งสิ้น 68 คน
เป้าหมาย
1. ยกระดับการศึกษาวัยแรงงาน
- อายุ 15 – 39 ปี มีการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป
- อายุ 40 – 59 ปี เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
2. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียง
3. ประชาชนในตำบลนาสิงห์ อายุ 15 ปีขึ้นไป ใช้เวลาอ่านหนังสือ โดยเฉลี่ย 5 นาที /วัน/คน
4. พื้นที่หมู่บ้านต่างๆ มีการเรียนรู้รูปแบบของกลุ่มประชาคม อย่างทั่วถึง
5. ศูนย์การเรียนชุมชน ของ กศน.ตำบลนาแสง มี สื่อ และโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศ และการสื่อสารด้วยตนเอง
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาการเรียนรู้ของประชาชน
กลยุทธ์ที่ 2 การเพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของชุมชน
กลยุทธ์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขององค์กรและภาคีเครือข่าย
กลยุทธ์การดำเนินงาน
1. ลุยถึงที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
2. จัดกิจกรรมหลากหลายโดนใจผู้เรียน
3. ขยายแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยี
4. ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายและกระจายบริการการศึกษา
5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
การวิเคราะห์ SWOT
S Strength จุดแข็ง
W Weaknesses จุดอ่อน
O Opportunities โอกาส
T Threats อุปสรรค
จุดแข็ง Strength กศน.ตำบลนาแสง
1. ครูกศน.ตำบลนาแสง มีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงาน มีความตั้งใจและพร้อมที่จะเสียสละต่อหน่วยงาน
2. กศน.ตำบลนาแสงเป็นสถานศึกษาที่ใกล้ชุมชน มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆเพื่อการบริหารจัดการโดยใช้แผนงานโครงการเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานและกำกับติดตามประเมินผล จึงทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
3. กศน.ตำบลนาแสง มีความเข้มแข็งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการได้อย่างทั่วถึงทั้งด้านความรู้ขั้นพื้นฐานและอาชีพเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
4. ครู ศรช. มีการวางแผนการพบกลุ่มทุกภาคเรียนและพัฒนาความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆอย่างต่อเนื่อง
จุดอ่อน Weaknesses ของกศน.ตำบลนาแสง
1. มีการเปลี่ยนแปลงของครูประจำตำบลทำให้การปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง
2. กระบวนการจัดเก็บเอกสารงานทะเบียนยังไม่เป็นระบบ
5. ครู มีวุฒิปริญญาตรีสาขาอื่น ที่ไม่ใช่วุฒิด้านการศึกษา ทำให้ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกระบวนการศึกษา
6. ครูยังขาดความรู้และความสามารถในการจัดทำการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
โอกาส Opportunities กศน.ตำบลนาแสง
1. บุคลากรมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรม ที่ชุมชน และหน่วยงานต่างๆจัดขึ้นเพื่อพัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
2. กศน.ตำบลนาแสง มีเครือข่ายที่เข้มแข็งให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมและดำเนินการตามการวางแผนและกำกับติดตามประเมินผล
3. กศน.ตำบลนาแสง มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
อุปสรรค Threats กศน.ตำบลนาแสง
1. ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินงานด้านต่างๆมีอยู่อย่างจำกัดตามซึ่งทำให้การดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรม ยังทำให้ปฏิบัติงานไม่คล่องตัว
2. สถานที่จัดตั้ง ศรช. ยังไม่มีความเป็นเอกเทศ ซึ่งสถานที่ส่วนใหญ่เป็นของชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทำให้การปฏิบัติงานขาดความคล่องตัว