สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ (สกร)
Untitled Document
   กศน. ตำบลบึงกาฬ
Untitled Document
ประวัติสถานศึกษา

  สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์  อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่  แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง  สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว                                 

หาดทรายขาวเป็นสง่า  น่าทัศนาแก่งอาฮง  งามน้ำโขงที่บึงกาฬ  สุขสำราญที่ได้ยล

ประวัติความเป็นมา ของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบึงกาฬ

           ศรช.ตำบลบึงกาฬ สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบึงกาฬ  สำนักงาน            ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

          ศรช.ตำบลบึงกาฬ  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2548 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ขอจัดตั้ง ศรช.ต.บึงกาฬ

ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นผู้ลงนามจัดตั้ง

          เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2552  ได้เปลี่ยนชื่อ ศรช.ตำบลบึงกาฬ  เป็น กศน.ตำบลบึงกาฬ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาตามอัธยาศัย มีสถานภาพเป็นสถานศึกษาในการบริหารส่วนกลาง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดหนองคาย  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

          ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบึงกาฬ

1. นายวิชิต  อภัยโส   ตำแหน่ง  ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน  ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2545 – 31 ต.ค. 2549

2. นางสาวพิชยา  พิสัยพันธ์  ตำแหน่ง  ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน  ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2550 –  ปัจจุบัน 

ความเป็นมา

        จังหวัด บึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔ อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔ สืบไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย

ประวัติ

        ใน พ.ศ. ๒๕๓๗ นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย เสนอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยกำหนดจะแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย รวมเป็นท้องที่ทั้งหมด ๔,๓๐๕ ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ ๓๙๐,๐๐๐ คน อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณาว่า ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐ ซึ่งจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี

        โครงการ ร้างมาเกือบ ๒๐ ปี กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๕๓ กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อยก "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ....ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคายในคราวเดียวกัน ปรากฏว่า ร้อยละ ๙๘.๘๓ เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ  ต่อ มาวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยให้เหตุผลว่า เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องอำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามแม่น้ำโขง จึงมีผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนจังหวัดหนอง บัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญที่เคยตั้งขึ้นใหม่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลัก เกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน จังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ให้บริการสาธารณะซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น และบุคลากรจำนวน ๔๓๙ อัตรา สามารถกระจายกันในส่วนราชการได้ ไม่มีผลกระทบมากนัก

        ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔ นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔"

        ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้นเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มีว่า

         "...เนื่อง จากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทําให้การติดต่อระหว่างอําเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลําบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอําเภอบึงกาฬ อําเภอเซกา อําเภอโซ่พิสัย อําเภอบุ่งคล้า  อําเภอ บึงโขงหลง อําเภอปากคาด อําเภอพรเจริญ และอําเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"

        นอก จากมาตรา ๓ ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปดข้างต้นแล้ว มาตรา ๔ ยังให้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบึงกาฬ" เป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ด้วย

ภูมิประเทศ

        บึง กาฬเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

        ทิศเหนือ ติดต่อกับ กำแพงนครเวียงจันทน์ เขตเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน

        ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจังหวัดนครพนม

        ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสกลนคร

        ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดหนองคาย

การปกครอง 

            1. อำเภอเมืองบึงกาฬ

            2. อำเภอพรเจริญ

            3. อำเภอโซ่พิสัย

            4. อำเภอเซกา

            5. อำเภอปากคาด

            6. อำเภอบึงโขงหลง

            7. อำเภอศรีวิไล

 

            8. อำเภอบุ่งคล้า

           


   

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ :สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ (สกร)

ที่อยู่ : 456 ม.1 ถ.บึงกาฬกลาง-บึงสวรรค์ ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ

โทรศัพท์ : 042492733

 

ไอพีคุณ
: 3.138.102.178
วันที่เริ่มนับ
: 10/01/2558
วันที่ปัจจุบัน
: 27/04/2567
ผู้ชมออนไลน์
: 10
จำนวนผู้เข้า
: 12922906