ประวัติสถานศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ประกาศจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน พร้อมกันทั่วประเทศจำนวน ๗๘๙ แห่ง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ ประกอบกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๓๖ ข้อ ๖ ในส่วนของอำเภอบึงโขงหลง มีชื่อว่า “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบึงโขงหลง” เมื่อ ณ วันที่ ๒๗สิงหาคม ๒๕๓๖ เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดบึงกาฬกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยนายปราโมท สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนาม โดยในช่วงแรกได้อาศัยอยู่ร่วมกับอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบึงโขงหลง และในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้แยกออกจากห้องสมุดประชาชนอำเภอบึงโขงหลง มาสร้างเป็นอาคารเอกเทศของตนเอและใช้เป็นสำนักงานของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบึงโขงหลง ซึ่งต่อมาเมื่อ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ขึ้น และประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อสถานศึกษาเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบึงโขงหลง เรียกชื่อย่อว่า กศน.อำเภอบึงโขงหลง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงปัจจุบัน
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การศึกษาสภาพปัญหาและการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กศน.อำเภอบึงโขงหลง สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดบึงกาฬ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กศน.อำเภอบึงโขงหลง สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดบึงกาฬ และ 2) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กศน.อำเภอบึงโขงหลง สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดบึงกาฬ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Survey and Action Research ) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กศน.อำเภอบึงโขงหลง สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดบึงกาฬ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา กศน.อำเภอ จำนวน 1 คน, ข้าราชการครู จำนวน 1 คน, ครูอาสาสมัครฯ จำนวน 2 คน ครู กศน.ตำบล จำนวน 8 คน, คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 8 คน, ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 คน, ผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน 8 คน และวิทยากรวิชาชีพผู้ทรงภูมิปัญญา จำนวน 8 คน, , รวมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กศน.อำเภอบึงโขงหลง สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดบึงกาฬ ประกอบด้วยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา กศน.อำเภอ จำนวน 1 คน, ข้าราชการครูจำนวน 1 คน, ครูอาสาสมัครฯจำนวน 1 คน, ครู กศน.ตำบล จำนวน 2 คนคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 2 คน, ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน, ผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน 1 คน และวิทยากรวิชาชีพผู้ทรงภูมิปัญญาจำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กศน.อำเภอบึงโขงหลง สังกัด สำนักงาน กศน.จังหวัดบึงกาฬ มีสภาพปัญหาระดับปานกลางในทุกด้านเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยคือ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 3) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4) ด้านการนิเทศการศึกษา 5) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ 6) ด้านการวัดผลและประเมินผล สำหรับระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายมีระดับมากในทุกด้านเรียงจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการวัดผลและประเมินผล 2) ด้านการนิเทศการศึกษา 3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 5) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และ 6) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กศน.อำเภอบึงโขงหลง สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดบึงกาฬ พบว่า 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรมีการสำรวจและจัดทำคลังหลักสูตรท้องถิ่นที่หลากหลายเสนอที่ประชุม ควรจัดประชุมภาคีเครือข่ายทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง นำเสนอหลักสูตร ร่วมวางแผนในการวิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา การนำไปใช้ และปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียน คณะกรรมการสถานศึกษาควรตรวจทานและให้ความเห็นชอบในทุกหลักสูตรที่มีความจำเป็นและเป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน และควรมีการนำเสนอแนวทางในการนำปัญหามาพัฒนาสถานศึกษาในแต่ละปีงบประมาณ 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรให้คำปรึกษาแนะนำให้มีการจัดทำแผนการเรียนรู้ตามสภาพจริง จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกระบวนการเรียนเรียนรู้ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา ใช้วิทยากรผู้ทรงภูมิปัญญาร่วมวางแผนและกำหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามรายวิชา ตามจุดมุ่งหมาย ตามเนื้อหา ตามรายละเอียดคำอธิบายรายวิชา ตามรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร ในสภาพจริงที่เหมาะสมกับผู้เรียน การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการจัดการเรียนการสอน และ ร่วมเสนอแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูและวิทยากรในการดำเนินการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียนและกลุ่มเป้าหมาย
3) ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรร่วมกำหนดเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ตามรายวิชา ตามรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร ตามเนื้อหา ตามจุดมุ่งหมาย ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการพิจารณาแฟ้มประสบการณ์ เอกสารในการประเมินเทียบระดับการศึกษา ตรวจผลงาน ชิ้นงาน ร่วมพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลและประเมินผล และร่วมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับสถานศึกษาเพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดียิ่งขึ้น
4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ควรจัดหาทุนและระดมทรัพยากรสนับสนุนการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน สร้างและค้นคว้านวัตกรรมที่สามารถให้ผู้เรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และร่วมจัดกิจกรรมและนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาขยายผลให้กับกลุ่มเป้าหมาย ช่วยเผยแพร่ข่าวสารสื่อนวัตกรรม
5) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรมีการร่วมสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ร่วมจัดหาทุนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ ร่วมสำรวจและเสนอการใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ที่มีในท้องถิ่น ร่วมประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้ และร่วมสนับสนุนงบประมาณและสถานที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้
6) ด้านการนิเทศการศึกษา การร่วมเป็นคณะกรรมการนิเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม การให้คำปรึกษา คำแนะนำ ข้อแนะนำ ให้ขวัญกำลังใจ กำกับดูแลสอดส่องรายงานร่วมกัน และควรเข้าร่วมประชุม ติดตามผลการจัดการเรียนการสอน ร่วมประชุมจัดหาเครื่องมือนิเทศอย่างหลากหลาย และร่วมเสนอข้อแนะนำแนวทางในการพัฒนาการศึกษาเพื่อการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีคุณภาพที่เป็นรูปธรรม 1) ควรมีการประชุมชี้แจงนโยบายแนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ให้กับครูและภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ทันสมัยทันเหตุการณ์ 2) ควรมีการอบรมและพัฒนาความรู้ทักษะเชิงวิชาการและสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการประสานงาน และด้านการตัดสินใจให้แก่ครูและวิทยากรผู้ทรงภูมิปัญญา 3) ควรให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการนิเทศติดตามผลเพื่อให้คำแนะนำกับสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องในระดับชุมชนและระดับสถานศึกษา 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ควรมีการร่วมประชุมคณะทำงานวิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตร การใช้หลักสูตร การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรมีการจัดทำแผนการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรม การสอนเทคนิคการสอนให้ครูและวิทยากร 3) ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรมีการจัดทำเครื่องมือวัดผลการเรียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์สาระวิชาตามสภาพจริง 4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ควรมีการจัดหา จัดทำ และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ต่างๆให้มีความเหมาะสมกับการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย 5) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรมีการจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย และจัดหาทุนพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 6) ด้านการนิเทศการศึกษา ควรมีการวางแผนการนิเทศ จัดทำเครื่องมือนิเทศติดตาม การจัดทำรายงานผลการนิเทศ และการให้ภาคีเครือข่ายร่วมนิเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม
2. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาต่อเนื่องที่สำคัญต่อไป 1) ควรศึกษารูปแบบการดำเนินงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน 2) ควรศึกษาองค์ประกอบ หรือปัจจัยอื่น ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 3) ควรศึกษาความต้องการและความจำเป็นในการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับหมู่บ้าน เพื่อดำเนินการจัดการศึกษาที่มีความสอดคล้องตรงตามความต้องการและความจำเป็นของผู้เรียนรายบุคคลให้เกิดประโยชน์โดยแท้จริง
โครงสร้างสถานศึกษา