ประวัติสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเซกา(ชื่อเดิม)
ชื่อสถานศึกษาใหม่ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเซกา( สกร. )
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่ ถนน เซกา – บึงโขงหลง เลขที่ นค. ๒๓๐ หมู่ที่ ๗ บ้านศรีพนา ตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ รหัสไปรษณีย์ ๓๘๑๕๐ โทรศัพท์ ๐-๔๒๔๘-๙๔๖๐ โทรสาร ๐-๔๒๔๘-๙๔๖๐
E – mail : nfe.seka2558@gmail.com
website : http://www.nfe-bk.go.th/index.php?id=show_school&id_s=430900
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบึงกาฬ
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ประวัติสถานศึกษาสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเซกาเป็นสถานศึกษาในราชการส่วนกลาง ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ โดยเรียกชื่อย่อว่า “กศน.อำเภอเซกา” เดิมมีชื่อว่า “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเซกา” ชื่อย่อ “ศบอ.เซกา” จัดตั้งโดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ มีสถานภาพเป็นสถานศึกษา และส่วนราชการ ในระดับอำเภอ เดิมอาศัยอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอเซกา จัดการศึกษาแบบทางไกล วิทยุ ไปรษณีย์และแบบพบกลุ่มโดยครูประจำกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน ครูประจำกลุ่มส่วนมากเป็นข้าราชการประจำ โดยมีเจ้าหน้าที่จากจังหวัด“เป็นผู้ประสานงานระดับอำเภอ” เรียกว่า “ผปอ” คนแรก นางประเยาว์ ชัยวงศ์ษา คนที่ ๒ นายธนิต บุญประเสริฐ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้แต่งตั้งให้ นายอาส พ้นเหตุ มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาคนแรก ในตำแหน่ง หัวหน้า ศูนย์ ๑ มีครูประจำกลุ่ม รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในแต่ละตำบลในฐานะ “หัวหน้าศูนย์การเรียนทางไกลตำบล” ชื่อย่อ “ศทก” ได้แก่
๑. นายสมบูรณ์ สาระรัตน์ หัวหน้า ศทก. ตำบลเซกา ประธาน ศทก.
๒. นายคำตัน วรรณชู หัวหน้า ศทก. ตำบลท่าสะอาด รองประธาน คนที่ ๑
๓. นายสมาน ใจแก้ว หัวหน้า ศทก. ตำบลป่งไฮ รองประธาน คนที่ ๒
๔. นายพยุงศักดิ์ ป้องนอก หัวหน้า ศทก. ตำบลบ้านต้อง รองประธาน คนที่ ๓
และครูประจำกลุ่มจำนวนหนึ่งของทุกตำบล ร่วมใจบริจาคเงินค่าตอบแทนการสอนสมทบทุนก่อสร้างอาคารชั่วคราวใช้เป็นที่ทำการชั่วคราว เรียกชื่อว่า “ศาลาร่วมใจ” และพัฒนาเป็นที่ตั้งสำนักงาน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเซกา จนปัจจุบันบางส่วนแบ่งจัดเป็นศูนย์จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรม จนได้รับการขนานนามว่าเรียกว่า “โรงเรียนโรงงาน” โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อจักรอุตสาหกรรม จำนวน ๑๐๐ ตัวโดยนายสุเมฆ พรมพันห่าว สส.พรรคราษฏร์ขณะนั้น
การเปลี่ยนแปลงจาก กศน.สู่ สกร
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ที่กระทรวงศึกษาธิการ มีการโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ( สำนักงาน กศน.) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ให้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) กระทรวงศึกษาธิการ
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวผ่านระบบออนไลน์จากฝรั่งเศส ว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งกับพี่น้องชาว กศน. ในการยกระดับจาก “สำนักงาน กศน.” สู่การเป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ซึ่งการส่งเสริมการเรียนรู้ ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ มุ่งพัฒนาบุคคลให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก มีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น ผ่านการมีส่วนร่วมของ 3 เสาหลัก ได้แก่ รัฐ เอกชน และท้องถิ่น
พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ฉบับนี้ ถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส จะสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งจุดเด่นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเดิม จัดตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้” ที่จะขยายตัวรองรับทุกพื้นที่ ตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคใหม่ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มทักษะชีวิต เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ดังนั้น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงเป็นหน่วยงานที่ต้องมีการปรับตัวให้ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
“เมื่อกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นกรมใหม่ล่าสุดของประเทศไทยที่มีภารกิจสำคัญอย่างยิ่ง และมีความคาดหวังว่าจะเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาของประเทศไทย รูปแบบการทำงานจึงต้องเป็นแบบบูรณาการทั้งแนวระนาบเดียวกัน และแนวตั้ง ทั้งในกระทรวง และระหว่างกระทรวง ที่สำคัญ คือ ต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ดิฉันเชื่อว่า กรมส่งเสริมการเรียนรู้จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา ไปสู่การเรียนรู้ของคนไทยตลอดช่วงชีวิต เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับประชาชนทุกคนได้”
นายคมกฤช จันทร์ขจร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวว่า การจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ได้เริ่มมีอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2483 โดยรัฐบาลได้จัดตั้ง “กองการศึกษาผู้ใหญ่” สังกัด สป.ศธ. เพื่อรับผิดชอบงานการศึกษาผู้ใหญ่โดยตรง ก่อนจะเกิดการปรับเปลี่ยนอีกหลายครั้ง เป็น “กรมการศึกษานอกโรงเรียน” ต่อมาเป็น “สำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน” จนล่าสุดเป็น “สำนักงาน กศน.” ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551
และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 ได้มีการเผยแพร่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจาก สำนักงาน กศน. เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้
“การโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันต่างๆ ให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ ในวันนี้ เป็นการเปลี่ยนสถานะสู่ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ อย่างเต็มตัว ตามมาตรา 28 ที่จะช่วยให้ขับเคลื่อนภารกิจต่อไปได้ และในขณะที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงของ สำนักงาน กศน. ไปสู่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วประชาชนจะได้อะไรบ้าง ซึ่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และบุคลากรของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ทุกคน ขอยืนยันว่าจะมุ่งดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม เต็มสรรพกำลังความสามารถ ผลักดันให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นหน่วยงานที่มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา และนำไปสู่การเรียนรู้ของคนไทยตลอดช่วงชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกช่วงวัย และยกระดับสังคมในภาพรวมของประเทศต่อไป” นายคมกฤช กล่าว
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งห่างจังหวัดบึงกาฬ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามถนนสายบึงกาฬ – พังโคน
ระยะทาง ๑๐๕ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ จดกับอำเภอศรีวิไล อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
ทิศใต้ จดกับอำเภออากาศอำนวย อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก จดกับอำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก จดกับอำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ
สภาพทั่วไปของอำเภอเซกา
จำนวนประชากร อำเภอเซกามีประชากรรวมทั้งสิ้น ๘๒,๔๗๒ คน (พ.ศ.๒๕๕๔)
ประชากรชาย ๓๗,๔๖๔ คน
ประชากรหญิง ๔๕,๐๐๘ คน
จำนวนครัวเรือน ๑๓,๑๔๙ ครัวเรือน
พื้นที่ ๙๗๘,๔๒๘ ตารางกิโลเมตร
การปกครอง
แบ่งการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นตำบล หมู่บ้าน ดังนี้
๑. หมู่บ้าน จำนวน ๑๓๕ หมู่บ้าน
๒. ตำบล จำนวน ๙ ตำบล
๒.๑ เซกา จำนวนหมู่บ้าน ๒๓ หมู่
๒.๒ ซาง จำนวนหมู่บ้าน ๑๓ หมู่
๒.๓ ท่ากกแดง จำนวนหมู่บ้าน ๑๖ หมู่
๒.๔ น้ำจั้น จำนวนหมู่บ้าน ๑๒ หมู่
๒.๕ โสกก่าม จำนวนหมู่บ้าน ๑๒ หมู่
๒.๖ หนองทุ่ม จำนวนหมู่บ้าน ๑๓ หมู่
๒.๗ ท่าสะอาด จำนวนหมู่บ้าน ๑๓ หมู่
๒.๘ บ้านต้อง จำนวนหมู่บ้าน ๑๕ หมู่
๒.๙ ป่งไฮ จำนวนหมู่บ้าน ๑๘ หมู่
มีเทศบาลตำบล ๓ แห่ง คือ
๑. เทศบาลตำบลศรีพนา
๒. เทศบาลตำบลท่าสะอาด
๓. เทศบาลตำบลซาง
มีองค์การบริหารส่วนตำบล ๘ แห่ง คือ
๑. เซกา ๒. ท่ากกแดง ๓. น้ำจั้น ๔. โสกก่าม
๕. หนองทุ่ม ๖. ท่าสะอาด ๗. บ้านต้อง ๘. ป่งไฮ
โครงสร้างสถานศึกษา