ประวัติสถานศึกษา
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ และเนินสลับกันไป สภาพดินบางส่วนเป็นดินผสมลูกรัง มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บริเวณที่มีส่วนสำคัญ เช่น ห้วยคำมิด ห้วยลำคลอง และห้วยกระมันไหลผ่านค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวและยางพารา บางพื้นที่เป็นป่าเสื่อมโทรม ราษฎรอพยพมาจาก ต่างท้องที่เข้ามาบุกรุกหักร้างถางพงเพื่อทำการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ประดู่ เป็นต้น
สภาพชุมชน
ประชากรอำเภอโซ่พิสัย ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ มีประชากรจำนวนจำนวน ๗๑,๒๒๔ คน แยกเป็น ชาย จำนวน ๓๖,๐๒๘ คน เป็นหญิงจำนวน จำนวน ๓๕,๑๙๖ คน ข้อมูล ณ วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๖
ลักษณะภูมิอากาศ
โดยทั่วไป มีสภาพอากาศแบบมรสุม ๓ ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว
การคมนาคม อำเภอโซ่พิสัย ใช้ถนนเป็นเส้นทางคมนาคม ตามถนนทางหลวงแผ่นดิน สาย ๒๑๒
การปกครองท้องถิ่น แบ่งเขตการปกครอง คือ ๗ ตำบล ๙๕ หมู่บ้าน เทศบาลตำบล ๑ แห่ง ดังนี้
๑. เทศบาลตำบลโซ่พิสัย
๒. องค์การบริหารส่วนตำบลโซ่
๓. องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าทอง
๔. องค์การบริหารส่วนตำบลคำแก้ว
๕. องค์การบริหารส่วนตำบลบัวตูม
๖. องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำเจริญ
๗. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันทา
๘. องค์การบริหารส่วนตำบลศรีชมภู
ลำน้ำสำคัญ
๑) ลำห้วยสงคราม ไหลผ่านพื้นที่อำเภอโซ่พิสัยทางทิศใต้ เป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ กับอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
๒) ลำห้วยคำมิด ไหลผ่านตำบลบัวตูม และตำบลโซ่ แล้วไหลลงสู่ห้วยสงครามยาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
๓) ลำห้วยคลอง ไหลผ่านพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย ทางทิศตะวันออก ผ่านตำบลศรีชมภู ตำบลถ้ำเจริญ และตำบลคำแก้ว ระยะทางยาวประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
๔) ลำห้วยกระมัน ไหลผ่านพื้นที่ตำบลหนองพันทา และตำบลโซ่ แล้วไหลลงสู่ห้วยสงคราม ระยะทางยาวประมาณ ๑๕ กิโลเมตร
๕) อ่างเก็บน้ำห้วยซำ ตั้งอยู่ที่บ้านอ่าง ตำบลโซ่ มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่ ปัจจุบันใช้เป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา ของเทศบาลอำเภอโซ่พิสัย
๖) อ่างเก็บน้ำบ่อออง ตั้งอยู่ที่บ้านดอนเสียด ตำบลคำแก้ว มีเนื้อที่ประมาณ ๖๒๕ ไร่ เคยได้รับรางวัลประกวดแหล่งน้ำดีเด่นระดับภาค พ.ศ. ๒๕๓๐
๗) ฝายน้ำล้นห้วยดาน ตั้งอยู่ที่บ้านแสงอรุณ ตำบลศรีชมภู ได้รับรางวัลประกวดแหล่งน้ำขนาดเล็กดีเด่น ระดับภาค พ.ศ.๒๕๓๔
ด้านการศึกษา
สถานศึกษาในอำเภอโซ่พิสัยมีดังนี้
โรงเรียนประถมศึกษา ๓๘ แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา ๔ แห่ง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๑ แห่ง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอ ๑ แห่ง
โรงเรียนปริยัติธรรมแผนกรวม ๑ แห่ง
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ๑๕ แห่ง
ศาสนาและวัฒนธรรม
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีและวัฒนธรรม เป็นแบบท้องถิ่นพื้นเมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเพณีที่สำคัญได้แก่ บุญกฐิน บุญมหาชาติ บุญบั้งไฟ งานสงกรานต์
ด้านความสงบเรียบร้อย มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอโซ่พิสัย จำนวน ๑ แห่ง
ด้านเศรษฐกิจ
๑) อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม ทำนา ปลูกยางพารา
๒) อาชีพเสริม ได้แก่ กลุ่มจักสานกระติบข้าว
๓) กลุ่มแปรรูปอาหารจากปลา
๔) สถาบันการเงิน มีธนาคาร ๒ แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคาร ธกส.
๕) จำนวนห้างสรรพสินค้า มี ๒ แห่ง
ด้านการเกษตร
อำเภอโซ่พิสัยมีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น ๒๐๒ ,๗๔๖ ไร่
- ครอบครัวเกษตร จำนวน ๑๑ ,๕๓๓ ครอบครัว
- พื้นที่ทำนา จำนวน ๑๑๒ ,๕๖๓ ไร่
- พื้นที่ทำไร่ จำนวน ๒,๗๙๕ ไร่
- พื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น จำนวน ๘๗,๓๘๘ ไร่
ด้านการท่องเที่ยว
อำเภอโซ่พิสัยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เพิ่มรายได้ให้ราษฎร คือ
ถ้ำเต่า ตั้งอยู่ที่บ้านท่าสวาท ตำบลโซ่ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ เป็นโขดหินขนาดใหญ่-เล็กเรียงรายสลับซับซ้อนกันซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติกลางแม่น้ำสงครามโขดหินดังกล่าวนั้นมีลักษณะเด่นคือ คล้ายตัวเต่าหลายๆ ตัวที่กำลังเล่นน้ำชาวบ้านในหมู่บ้านและประชาชนที่มาพบเห็น ดูแล้วต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ว่าเหมือนเต่าและหลังเต่าจึงได้ตั้งชื่อสถานที่นั้นว่า “ถ้ำเต่า” เพราะคิดว่าเป็นสถานที่ของเต่ามาชุมนุมกันและได้เรียกกันว่าถ้ำเต่ามาจนถึงปัจจุบันระยะเวลาที่ประชาชนเข้ามาเที่ยวชมนั้นประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคมอยู่ในช่วงฤดูร้อนเพราะแม่น้ำสงครามจะลดทำให้เห็นโขดหินที่ขึ้นกลางแม่น้ำหรือชาวบ้านเรียกว่าเต่า มองเห็นได้ชัดเจนและสวยงาม
ด้านสาธารณสุข
มีการให้บริการด้านสาธารณสุข ดังนี้
๑) โรงพยาบาลชุมชน จำนวน ๑ แห่ง
๒) สำนักงานสาธารณสุข จำนวน ๑ แห่ง
๓) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๑๑ แห่ง
๔) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน ๗๙ แห่ง
๕) คลินิกแพทย์ จำนวน ๒ แห่ง
๖) สถานพยาบาล จำนวน ๔ แห่ง
๗) ร้านขายยาแผนโบราณ จำนวน ๘ แห่ง
โครงสร้างสถานศึกษา
ทำเนียบบุคลากร กศน.อำเภอโซ่พิสัย