สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ (สกร)
Untitled Document
ภาพกิจกรรม :กศน.อำเภอเซกา จัดโครงการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติดนักศึกษาคนพิการ

กศน.อำเภอเซกา นำโดย นายวิทยา   พิสัยพันธ์ ผู้อำนวยการ

และคณะครูผู้สอนคนพิการ ได้จัดโครงการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติดนักศึกษาคนพิการ 

       กศน.อำเภอเซกา นำโดย นายวิทยา   พิสัยพันธ์ ผู้อำนวยการและคณะครูผู้สอนคนพิการ ได้จัดโครงการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติดนักศึกษาคนพิการและนี่คือ ผลผลิตที่ได้ในการจัดทำโครงการนี้ขึ้น

 

      

 

  

 

 

เทคนิควิธีการเพาะเห็ดฟาง ที่น่าสนใจ
วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าพลาสติก

1.วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟาง ฟางทุกชนิด แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน ถ้าเป็นตระกร้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง
2.อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น
3.อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้า พลาสติก บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง
 
วิธีการ เพาะ เห็ดฟาง
1. ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน
2. หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า
3. ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ
4. อาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า
5. โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1
6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1
7. ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง

                         

 

การดูแลรักษาสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า

*สถานที่ควรเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท

*ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว

*รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน

*คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือแสลน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน

*ครบ 3 คืน เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วันเก็บผลผลิตได้

*ผลผลิต 1 ตะกร้า 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอาหารเสริม ยิ่งใส่มาก ผลผลิตยิ่งสูงตาม

*อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายๆอย่างก็ได้

 

ค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า มีดังนี้

1. ตะกร้าพลาสติกขนาดสูง 11 นิ้ว ปากตะกร้ากว้างประมาณ 18 นิ้ว มีตาห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ตะกร้าใบหนึ่งใช้ได้หลายครั้ง อาจใช้ได้นานเกิน 20 ครั้งขึ้นไป ราคาใบละประมาณ 30 บาท 

2. ชั้นโครงเหล็ก ใช้เหล็กแป๊ปสี่เหลี่ยมขนาด 6 หุน มาทำเป็นโครงเหล็กให้ได้ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 2 เมตรยาง 2 เมตร ซึ่งโครงเหล็กมี 4 ชั้น สามารถวางตะกร้าเพาะได้ 40 ใบ ราคาโครงเหล็กประมาณ 705 บาท 

3. แผ่นพลาสติกสำหรับคลุมชั้นโครงเหล็ก ใช้แผ่นพลาสติกใสขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ราคาประมาณ 60 บาท 

4. โรงเรือน ซึ่งโรงเรือนเป็นไม้ลักษณะของโรงเรือน คือนำไม้มาประกอบกันซึ่งสร้างให้มีขนาดใหญ่ จนสามารถครอบชั้นโครงเหล็กได้ ราคาโรงเรือนทั้งหมดประมาณ 900 – 1,000 บาท 

5. วัสดุเพาะ อาจใช้ฟางหรือก้อนขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงมาแล้ว ใช้ 9 ก้อนต่อ 1 ตะกร้า ราคาเฉลี่ยประมาณก้อนละ50 สตางค์ รวมเป็นเงินต่อตะกร้าประมาณ 4 – 5 บาท 

6.อาหารเสริม เราสามารถใช้ผักตบชวาหั่นประมาณ 1 ลิตรต่อตะกร้าคิดเป็นเงินรวมตะกร้าละไม่ถึง 1 บาท

7. ค่าเชื้อเห็ดฟางแบบอีแปะถุงละประมาณ 2 บาท 

8. ค่าจ้างแรงงานเพาะคิดเป็นเงินตะกร้าละ 3 บาท 

9. ค่าจ้างดูแล คิดเป็นเงินต่อตะกร้าละประมาณ 5 บาท 

 

10. ค่าจ้างแรงงาน เพื่อการเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตกิโลกรัมละประมาณ 5 บาทรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 2 พันบาทต้น ๆ แต่หากลบค่าใช้จ่ายเรื่องโรงเรือนออกไป ราคาเห็ดฟางต่อหนึ่งตะกร้าจะลง ทุนเพียงประมาณไม่ถึง 50 บาท เท่านั้น

ผลผลิตของนักศึกษาพิการ กศน.อำเภอเซกา

                  

                  

 


 
 
   

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ :สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ (สกร)

ที่อยู่ : 456 ม.1 ถ.บึงกาฬกลาง-บึงสวรรค์ ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ

โทรศัพท์ : 042492733

 

ไอพีคุณ
: 3.15.148.203
วันที่เริ่มนับ
: 10/01/2558
วันที่ปัจจุบัน
: 22/11/2567
ผู้ชมออนไลน์
: 48
จำนวนผู้เข้า
: 16077699