สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดบึงกาฬ (สกร)
Untitled Document
รายงานข้อมูล ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โครงการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน

โครงการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน   11-22 กรฎาคม 2558

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

จากการวิเคราะห์ถึงศักยภาพของประเทศไทย พบว่ามีจุดแข็งที่สำคัญได้แก่

1. ประเทศไทยมีแรงงานที่มีทักษะฝีมือเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
2. มีวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และมีผลผลิตที่หลากหลาย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ผักและผลไม้สด
3. มีที่ตั้งเหมาะสมในด้าน การเป็นศูนย์กลางภูมิภาค ทำให้มีข้อได้เปรียบหลายด้าน โดยเฉพาะการขนส่ง และ
4. การคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศครอบคลุมและรองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนจุดอ่อนที่สำคัญมี 5 ข้อ ได้แก่ 
1. ภาคการผลิตของไทยยังมีประสิทธิภาพต่ำ เห็นได้จากข้อมูลการสำรวจปัจจัยในการแข่งขันทั้ง 4 ด้านที่สถาบัน IMD ได้ดำเนินการ สำรวจไว้
2. การขาดแคลนแรงงานจากค่านิยมเกี่ยวกับการทำงาน และการเรียนที่ผิดๆ โดยให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์มากกว่าการนำไปใช้จริง
3. การกระจุกตัวของพื้นที่อุตสาหกรรมทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และการอพยพแรงงานเข้ามาหางานทำในกทม. และปริมณฑล รวมทั้ง ในพื้นที่ภาคตะวันออก
4.อุตสาหกรรมหลักของประเทศยังต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ และ
5. สินค้าอุตสาหกรรมยังมีการเชื่อมโยงวัตถุดิบจากภาคการเกษตรไม่มากนัก แม้ว่าภาคการเกษตรจะมีความสำคัญกับประเทศมาอย่างช้านาน

การศึกษาอุตสาหกรรมหลัก 12 กลุ่มของไทย ได้แก่ 
1. อุตสาหกรรมยานยนต์ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ อันดับ 1 ของอาเซียน มีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ที่มีความเฉพาะใน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รถปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ และรถยนต์ขนาดเล็กคุณภาพสูง ซึ่งในส่วนของรถจักรยานยนต์ไทยมีการผลิตเป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซีย และเวียดนาม ดังนั้น หากเปิด AEC ไทยควรจะรักษาฐานการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่มีคุณภาพสูง ฐานการผลิต
รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยออกไปตั้งฐานการผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนในอาเซียน

2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขัน เนื่องจากเป็นฐานการผลิตอันดับ 1 ของอาเซียน อย่างไรก็ตาม หลังการเปิด AEC ไทยอาจได้รับผลกระทบจากการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กรณีทีวีแอลซีดีของโซนี่ ที่ได้ย้ายฐานไปมาเลเซีย เนื่องจากมีต้นทุนในการขนส่งไปอินเดียที่เป็นตลาดหลักต่ำกว่า แต่ทั้งนี้ ไทยยังคงเป็นฐานการผลิตทีวีแอลซีดีของซัมซุง พานาโซนิก และแอลจี รวมทั้ง ยังรับจ้างผลิตให้กับอีกหลายแบรนด์ ขณะที่ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ยังมีแนวโน้มที่ดี

3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไทยยังมีจุดแข็งในเรื่องแรงงานมีฝีมือเป็นที่ยอมรับ และมีระบบสาธารณูปโภคที่พร้อมแต่ยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งการเปิด AEC คาดว่า เรื่องภาษีจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมนี้ไม่มาก เพราะได้ทะยอยลดภาษีเป็น 0 เกือบหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่ของมาตรการส่งเสริมการลงทุน ไทยยังเสียเปรียบมาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่ให้สิทธิประโยชน์ยืดหยุ่นกว่า โดยแนวโน้มการ อยู่รอดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และใช้เทคโนโลยีชั้นสูง

4. อุตสาหกรรมเหล็ก ไทยมีศักยภาพในอันดับต้นๆ ของอาเซียน เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่ และยังมีโอกาสขยายตลาดในอาเซียนได้อีกมาก แต่มีจุดอ่อนในเรื่องการพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่มีโรงถลุงเหล็กต้นน้ำ ซึ่งหลังจากเปิด AECแล้วความน่าสนใจในการลงทุนอุตสาหกรรมนี้อาจด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่ มีการลงทุนเหล็กต้นน้ำ

5. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไทยมีจุดแข็งเรื่องฝีมือแรงงาน โดยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพพลอย มีจุดอ่อนในเรื่องแรงงานมีฝีมือมีแนวโน้ม ลดลง เพราะคนรุ่นใหม่หันไปทำงานด้านอื่น และขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศต้องนำเข้าถึง 90% แต่ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบในอาเซียนไทยยังคงมีศักยภาพการแข่งขันสูงกว่า ซึ่งเมื่อเปิด AECจะทำให้ไทยมีแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน

6. อุตสาหกรรมสิ่งทอ ไทยมีจุดเด่นในเรื่องขีดความสามารถในการผลิตครบวงจร เป็นฐานการผลิตใหญ่ในอาเซียนรวมทั้ง ประเทศกัมพูชา พม่า และเวียดนาม ต่างก็ยังพึ่งพาสินค้ากลางน้ำจำพวกผ้าผืนจากไทย ดังนั้นเมื่อเปิด AEC จะเป็นผลดีเนื่องจาก ประเทศเพื่อนบ้านและเวียดนามมีอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่เติบโตอย่างรวด เร็ว แต่ยังขาดแคลนอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำ จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบ ทำให้เป็นโอกาสของไทย ในการขยายตลาดในอาเซียน

7. อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ไทยมีความได้เปรียบและความพร้อมในเรื่องคุณภาพการผลิตที่ปราณีต แต่มีจุดอ่อนเรื่องต้นทุนแรงงาน ดังนั้น การเปิด AEC จะเป็นโอกาส ในการออกไปตั้งฐานการผลิตในสินค้า ปลายน้ำในประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนแรงงานต่ำ และยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ของประเทศเพื่อนบ้านในการส่งออกไปยังยุโรป และสหรัฐฯแต่ผู้ประกอบการ จะต้องพัฒนาแบรนด์ และเพิ่มการออกแบบ เพื่อให้แข่งขันในตลาดสากลได้

8. อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก ไทยมีจุดแข็งเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน เพราะมีกำลังการผลิตมากที่สุดในภูมิภาคการเปิด AEC ลดภาษีเป็น 0% ไทยจะส่งเม็ดพลาสติกเข้าไปขายได้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่มีอุตสาหกรรมต้นน้ำไม่เพียงพอ เช่น อินโดนีเซีย แต่อินโดนีเซียก็มีมาตรการกีดกันทางการค้าในเม็ดพลาสติก PET จากไทย ดังนั้น หากขจัดอุปสรรคนี้ได้ก็จะทำให้มีการส่งออกมากขึ้น

9. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก มีส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนเป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยมาเลเซียเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว เนื่องจากมีต้นทุนวัตถุดิบ พลังงาน โลจิสติกส์ และแรงงาน ต่ำกว่าไทย รวมทั้งยังมีการเชื่อมโยงคลัสเตอร์พลาสติกที่ดีกว่า ซึ่งเมื่อเปิด AEC อุตสาหกรรมนี้ จะขยายตัวตามเศรษฐกิจ ประกอบการไทยสามารถส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น ยกเว้นเวียดนามที่เป็นตลาดของมาเลเซีย

10. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ประเทศไทยมีจุดเด่นในเรื่องการส่งออกวัตถุดิบยางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้อุตสาหกรรมนี้ของไทยมีศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะยางล้อที่เติบโตอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันประเทศลาว และเวียดนามได้ขยายการส่งออกยางมากขึ้นทำให้อัตราการเติบของไทยลดลง และไทยยังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ดังนั้น จึงต้องเร่งผลิตบุคลากรทุกระดับ รวมทั้งเพิ่มการวิจัยและพัฒนา เพิ่มส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในการผลิต และการวิจัยสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรมยาง

11. อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิว ไทยมีจุดเด่นในเรื่องคุณภาพสินค้าที่ดีกว่าจีน และยังเป็นทำเลที่เหมาะต่อการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าในอาเซียน และยังมีความหลากหลายของสมุนไพรที่ใช้เป็นวัตถุดิบ แต่การเปิด AECจะทำให้ผู้ประกอบการSMEsต้องปรับตัว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะจะมีคู่แข่งมากขึ้น

12. อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีความเข็มแข็งมาก สิ่งที่ต้องระวังคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงและมีสภาพแวด ล้อมการทำงานที่ไม่จูงใจ ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบายชัดเจนในเรื่องการเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการผลิต การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อลดการพึ่งพาแรงงาน

ที่มา : เปิดผลวิเคราะห์อุตสาหกรรมไทยมั่นใจศักยภาพแข่งขันรับAEC (วัชระ ปุษยะนาวิน)

อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/881#ixzz3cSXP7r6W

   

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ :สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดบึงกาฬ (สกร)

ที่อยู่ : 456 ม.1 ถ.บึงกาฬกลาง-บึงสวรรค์ ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ

โทรศัพท์ : 042492733

 

ไอพีคุณ
: 18.97.14.86
วันที่เริ่มนับ
: 10/01/2558
วันที่ปัจจุบัน
: 05/12/2567
ผู้ชมออนไลน์
: 3
จำนวนผู้เข้า
: 16808463