ประวัติสถานศึกษา
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
กศน. ตำบลนาสะแบงศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาสะแบง (กศน..) จัดตั้งขึ้นในปีงบประมาณ 2541 ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอานาจักรไทย ฉบับพุทธศักราช 2540 มาตรา 209 โดยกำหนดให้การจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ อบต. ตำบลนาสะแบง โดย อบต. เป็นผู้จัดหาสถานที่และสนับสนุนส่งเสริม โดยมีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเป็นผู้ประสานงาน มีครูศูนย์การเรียนชุมชนและนักศึกษา เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมตามความต้องการของนักศึกษา ประชาชนในชุมชน
คือ นายสุภัทร ศรีดี เป็นหัวหน้า กศน.ตำบล
4) บทบาทหน้าที่
บทบาทและภารกิจของ กศน. ตำบล
กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน.อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน
กศน.ตำบล มีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้
1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างน้อยปีงบประมาณละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรมดังนี้
1.1 การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย
1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 60 คน
1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพจำนวน 20
1.1.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตจำนวน 20 คน
1.1.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน
1.1.5 กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 100 คน
1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน
2. สร้างและขยายภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข็มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการจัด
4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.
5. จัดทำแผนงาน โครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน.จังหวัด และ กศน.อำเภอ ที่สังกัดเพื่อการสนับสนุนงบประมาณจาก กศน.อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัว ตามที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดคูณด้วย จำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆนั้น จัดทำแผนงาน โครงการเพื่อเสนอของบประมาณให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ
6. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและ กับ กศน.อำเภอที่สังกัดตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพ ด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฎิบัติ
7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน.อำเภอ ที่สังกัด
8. รายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้
9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆที่ดีรับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ สำนักงาน กศน.จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมายกำหนด.