สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ (สกร)
Untitled Document
   กศน. ตำบลท่าสะอาด
Untitled Document
ประวัติตำบล

 1.ประวัติความเป็นมาตำบลท่าสะอาด  ตำนานเดิมเป็นหมู่บ้านเล็กราษฎรส่วนมากอพยพมาจากท้องถิ่นอื่นประมาณ  10  หลังคาเรือน  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสงครามอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำมีต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นที่สังเกต  คือ  ต้นเปลือย (ต้นตะแบก)  และบริเวณนั้นเป็นป่าดงดิบ  โดยมีนายอุ่น  กัสปะ  เป็นผู้นำก่อตั้งหมู่บ้านให้ชื่อว่า  “บ้านท่าเริงเปลือย”  คำนิยามคำว่า  “ท่า”  หมายถึงที่ลงแม่น้ำลักษณะลาดชัน  คำว่า  “เริง”  หมายถึงที่ราบลุ่มเป็นหนองน้ำ  และ  “เปลือย”  หมายถึงชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง (ต้นตะแบก)  ในอดีตอยู่ในเขตปกครองของตำบลท่ากกแดง  อำเภอเซกา  จังหวัดบึงกาฬ  นายอุ่น  กัสปะ  เห็นว่าทำเลดังกล่าวเป็นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธรรมชาติ  และมีปลาชุกชุม  จึงได้ล่องเรือสำรวจพื้นที่ไปตามแม่น้ำสงครามโดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ  1  กิโลเมตร  พบหินดานขนาดกว้าง  1  เส้น  หรือประมาณ  40  เมตร  ยาวประมาณ  2  เส้น  หรือประมาณ  80  เมตร  อยู่ริมแม่น้ำสงครามลักษณะคล้ายรูปแรดตรงกลางมีหลุมเล็ก ๆ  ลึกประมาณ  8  เมตร  มีน้ำขังเต็มเป็นน้ำเค็ม  นายอุ่น  กัสปะ  จึงเอาน้ำเค็มมาต้มเป็นเกลือไว้บริโภค  จึงตั้งชื่อบริเวณนั้นว่า  “บ่อหัวแฮต”  เมื่อประมาณปี  พ.ศ. 2484  ได้มีราษฎรต่างท้องถิ่นอพยพเข้ามาอยู่อาศัยตลอดส่วนมากจะมาจากบริเวณใกล้เคียง  เช่น  เมืองนครพนม  ธาตุพนม  ศรีสงคราม  โดยเป็นทำเลที่เหมาะสมในการประกอบอาชีพอุดมไปด้วยทรัพย์ในดินสินในน้ำ  และมีแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์  ซึ่งเป็นเกลือธรรมชาติชื่อว่า  “เกลือบ่อหัวแฮต”  จึงได้บอกเล่าต่อกันและชักชวนกันอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าเริงเปลือย  ต่อมามีพ่อเฒ่าจารย์  พร้อมด้วยราษฎรได้ร้องจัดตั้งเป็นหมู่บ้านและเมื่อปี  พ.ศ.  2490  นายอำเภอเซกา  จังหวัดหนองคาย  ได้ประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้านท่าเริงเปลือย  โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น  “บ้านท่าสะอาด” มีนายอุ่น  กัสปะ  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกนายอ่อนตา  เอกประสิทธิ์  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่  2  นายทองอินทร์  เสาใบ  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่  3  นายแพง  ผลจันทร์  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่  4

                ต่อมาเมื่อวันที่  3  มิถุนายน  พ.ศ. 2525  ได้ยกฐานะจากบ้านท่าสะอาดเป็นตำบลท่าสะอาด  โดยแยกเขตการปกครองออกจากตำบลท่ากกแดง  โดยมีนายแพง  ผลจันทร์  เป็นกำนันคนแรก  ซึ่งในปัจจุบันประกอบไปด้วย บ้านท่าสะอาด  บ้านม่วงคัน  บ้านหัวแฮต  บ้านตาลเดี่ยว  บ้านยางชุม  บ้านสมสนุก  บ้านโนนสวาท  บ้านใหม่สามัคคี  บ้านอุดมพร  บ้านป่าก่อ  บ้านท่าสะอาดใต้  บ้านสุขเจริญ  บ้านทรายทอง  รวม  13  หมู่บ้าน

2.ประวัติการจัดตั้งสุขาภิบาลและเทศบาลตำบลท่าสะอาด

ตำบลท่าสะอาด มีเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองเปรียบเทียบกับตำบลอื่นในอำเภอเซกา ยกเว้นตำบลเซกา ประกอบกับมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ในดินสินในน้ำ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลท่าสะอาด เมื่อวันที่ 12 กรกฎคม 2536 ตามประกาศในราชกิจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 116 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2536 ซึ่งเป็นลักษณะการปกครองท้องถิ่น ดังนี้ 

- พื้นที่ทั้งสิ้น 10.20 ตารางกิโลเมตร

- ครอบคลุมพื้นที่ 1 ตำบล คือ ตำบลท่าสะอาดบางส่วน 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1,2,3,6,7,9,10,11,และ 12

 3.ประวัติการจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าสะอาด 

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลทั่วทั้งประเทศ ในจำนวนนั้นได้เปลี่ยนแปลงจากสุขาภิบาลท่าสะอาดเป็นเทศบาลตำบลท่าสะอาดด้วยจนถึงปัจจุบัน

4.สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่น
  สภาพทั่วไป

          ลักษณะที่ตั้ง เทศบาลตำบลท่าสะอาด อยู่ในเขตปกครองของอำเภอเซกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่สองข้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 ช่วงระหว่าง อำเภอพรเจริญ จังหวัดหนองคาย กับ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสงคราม ห่างจากตัวจังหวัดหนองคาย ประมาณ 145 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ 615 กิโลเมตร

เทศบาลตำบลท่าสะอาด มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านใหม่สามัคคี ตำบลท่าสะอาด

ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านท่าดอกคูณ ตำบลท่ากกแดง

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านหนองชัยวานใต้  ตำบลป่งไฮ

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านตาลเดี่ยว ตำบลท่าสะอาด

5. อาณาเขตเทศบาลตำบลท่าสะอาด  ดังนี้

ด้านทิศเหนือ 
        หลักเขตที่ 1 ซึ่งอยู่ห่างเป็นแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน บึงกาฬ ระยะทาง 300 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดิน 
หมายเลข 222 สายพังโคน บึงกาฬ บรรจบกับถนนไปบ้านตาลเดี่ยว ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน บึงกาฬ ระยะทาง 600 เมตร

จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านโนนตาผา ฝากตะวันออกตรงจุดที่อยู่ห่างจากถนนไปบ้านโนนตาผาบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน - บึงกาฬ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวถนนไปบ้านโนนตาผา ระยะทาง 600 เมตร

จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปทางบ้านป่งไฮ ฝากตะวันออกตรงจุดที่อยู่ห่างจากถนนไปบ้านป่งไฮ บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน บึงกาฬ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวถนนไปบ้านป่งไฮ ระยะทาง 600 เมตร

จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงเลียบบริเวณถนนไปบ้านป่งไฮ ฟากตะวันออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านป่งไฮ ฟากตะวันออก

ตรงจุดที่อยู่ห่างจาก หลักเขตที่ 3 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 500 เมตร

ด้านตะวันออก
        จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยหล่มฝั่งตะวันออกตรงจุดที่อยู่ห่างตามแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนไปบ้านป่งไฮ ระยะทาง 600 เมตร 
        จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นเรียบริมห้วยหล่มฝั่งตะวันออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทางทิศใต้ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน - บึงกาฬ ถึงหลักเขตที่ 6  ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยหล่มฝั่งตะวันออกตรงจุดที่ลำห้วยหล่มบรรจบกับแม่น้ำสงครามฝั่งเหนือ

ด้านใต้

จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านถนนไปบ้านยางชุม ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดหนองคาย กับจังหวัดสกลนคร ตรงจุดที่อยู่บนแนวเส้นตั้งฉากกับถนนไปบ้านยางชุม ซึ่งอยู่ห่างจากถนนไปบ้านยางชุม ระยะทาง 800 เมตร

ด้านทิศตะวันตก

จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นเรียบเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดหนองคาย กับจังหวัดสกลนครฟากตะวันออกไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 8ซึงตั้งอยู่บนเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดหนองคาย กับจังหวัดสกลนคร ตรงจุดที่ปากห้วยอีกิ้ง บรรจบกับศูนย์กลางแม่น้ำสงคราม
          จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่เป็นแนวขนานกับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน บึงกาฬ ระยะทาง 500 เมตร

        จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน-บึงกาฬ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านตาลเดี่ยวฟากเหนือ

จากหลักเขตที่ 10 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน - บึงกาฬ บรรจบกับหลักเขตที่

เทศบาลตำบลท่าสะอาด     ตั้งอยู่ในตำบลท่าสะอาด อำเภอ เซกา จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ทั้งหมด 10.20 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 1 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. บ้านท่าสะอาด หมู่ที่ 1 บางส่วน

 2. บ้านม่วงคัน หมู่ที่ 2 บางส่วน

3. บ้านหัวแฮต หมู่ที่ 3 บางส่วน

4. บ้านสมสนุก หมู่ที่ 6 บางส่วน

5. บ้านโนนสวาท หมู่ที่ 7 บางส่วน

6. บ้านอุดมพร หมู่ที่ 9 บางส่วน
7. บ้านป่าก่อ หมู่ที่ 10 บางส่วน
8. บ้านท่าสะอาดใต้ หมู่ที่ 11 บางส่วน

9. บ้านสุขเจริญ หมู่ที่ 12

 6. ประชากร

จำนวนประชากร รวม 6,694 คน แยกเป็น ชาย 3,342 คนหญิง 3,352 คนจำนวนครัวเรือน 1,699 ครัวเรือน ความหนาแน่นของครัวเรือน 150 ครัวเรือน / ตารางกิโลเมตรมีสิทธิเลือกตั้ง 4,846 คน จำนวนหน่วยเลือกตั้ง 9 หน่วยเขตเลือกตั้ง 2 เขต มีสมาชิกสภาเทศบาลเขตละ 6 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน

7. ประวัติความเป็นมาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะอาด

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะอาด  เดิมเป็นสภาตำบลและได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะอาดเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 13 หมู่บ้าน แบ่งเป็นพื้นที่เต็มหมู่บ้านจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่  4,5,8 และหมู่ที่ 13 พื้นที่บางส่วนจำนวน หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,3,6,7,9,10 และหมู่ที่11

8.ที่ตั้งและอาณาเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะอาด

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะอาด ตั้งอยู่เลขที่ 89 บ้านป่ากอ หมู่ที่ 10 ตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเซกา มีระยะทางห่างจากอำเภอเซกาประมาณ  32  กิโลเมตรมีเนื้อที่  49.73   ตารางกิโลเมตร หรือพื้นที่จำนวน  31,086  ไร่แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยจำนวน 3,425 ไร่ที่สาธารณะ จำนวน 3,526 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 23,666 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดกับตำบลใกล้เคียง  ดังนี้

ทิศเหนือ                           ติดต่อกับ              เขตอำเภอพรเจริญและตำบลป่งไฮ อำเภอเซกา

ทิศใต้                              ติดต่อกับ               ตำบลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร (แม่น้ำสงคราม)

ทิศตะวันออก                    ติดต่อกับ                ตำบลป่งไฮ ตำบลท่ากกแดง อำเภอเซกา

ทิศตะวันตก                      ติดต่อกับ                ตำบลวังชมพู อำเภอพรเจริญ

9.ลักษณะภูมิประเทศ
          สภาพพื้นที่ของตำบลท่าสะอาด เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสงครามเป็นสายหลัก และห้วยสาขาประชากรส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม (ทำนา จำนวน 19,084 ไร่ ทำไร่ทำสวน จำนวน 4,587 ไร่)และทำประมงน้ำจืดจากลำห้วยสาขาลุ่มน้ำสงคราม ส่วนแม่น้ำสงครามสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 150 เมตร สภาพภูมิอากาศ มี ฤดู คือฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกันยายน ฤดูหนาว เริ่มเดือนตุลาคม
ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน ของทุกปี

10. สภาพทางเศรษฐกิจ

        10.1อาชีพประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนยางพารา  ทำไร่มันสำปะหลังและมีการเดินทางไปทำงานในต่างจังหวัด

 


   

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ :สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ (สกร)

ที่อยู่ : 456 ม.1 ถ.บึงกาฬกลาง-บึงสวรรค์ ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ

โทรศัพท์ : 042492733

 

ไอพีคุณ
: 3.145.8.42
วันที่เริ่มนับ
: 10/01/2558
วันที่ปัจจุบัน
: 25/04/2567
ผู้ชมออนไลน์
: 21
จำนวนผู้เข้า
: 12888540