สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ (สกร)
Untitled Document
   กศน. ตำบลเซกา
Untitled Document
แหล่งเรียนรู้ในตำบล

 วัดเซกาเจติยาราม(พระอารามหลวง)

วัดเซกาเจติยาราม  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด สามัญ  ตั้งอยู่เลขที่ ๓๘ หมู่ ๑๑ บ้านดงไร่ ต.เซกา อ.เซกา จ.บึงกาฬ 38150
ประวัติวัดเซกาเจติยาราม
         วัด บ้านเซกา นามเดิมคือ "วัดสันติมหาวัน" ตั้งอยู่เลขที่ ๓๘ หมู่ ๑๑ บ้านดงไร่ ต.เซกา อ.เซกา จ.บึงกาฬ(แยกจากหนองคาย) มีเนื้อที่ ๙๓ ไร่เศษเป็นป่าธรรมชาติทั้งหมด
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ พระอาจารย์ประสงค์ ภูริปัญโญ(พระครูสันติปัญญาภรณ์ หลวงปู่เทพา ในปัจุบัน) มาปักกลดที่ป่าดงไร่แห่งนี้ ได้นิมิตว่า คนแก่ ๕-๖คน นำพาไปขุดไหเงิน เหมือนคนแก่เหล่านั้นอยากให้มาตั้งวัดตรงนี้
         ปี พ.ศ.๒๕๑๘ หลวงปู่จึงตัดสินใจมาตั้งวัดและจำพรรษาที่ป่่าแห่งนี้ พระครูกุนนทีคณารักษ์ เจ้าคณะอำเภอเซกาในสมัยนั้น ได้ตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดสันติมหาวัน" และหลวงปู่ก็อยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นเรื่อยมาจนเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด
         เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๒๕ ได้รับอนุญาตตั้ง เปลี่ยนจากชื่อ วัดสันติมหาวัน เป็น "วัดบ้านเซกา" เพื่อรักษาประวัติศาสตร์ของถิ่นนี้ และเพื่อประดิษฐานพระเจ้ามูลเมืองเซกา
เมื่อวันที ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ต่อ มาได้รับอนุญาตจากมหาเถรสมาคม ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๒ ให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดเซกาเจติยาราม" หลวงปู่เป็นผู้นำพาก่อตั้งวัดนี้เป็นผู้แรกเรื่อยมาแต่ปี ๒๕๑๘ จนถึงปัจจุบัน
         พ.ศ.๒๕๓๙ หลวงปู่ได้นำพาคณะญาติโยมและลูกศิษย์สร้างอุโบสถ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๙ เมตร สิ้นทุนทรัพย์ไปทั้งสิ้น เจ็ดล้านแปดแสนเก้าหมื่นบาน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ขอพระราชทานตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี มาประดิษฐานกน้าบันอุโบสถนั้นด้วย จึงให้ชื่อว่า "โบสถ์มหาราชา"
ปี พ.ศ.๒๕๔๗ หลวงปู่ได้นำพาคณะญาติโยมและลูกศิษย์สร้างศาลาโรงธรรม กว้าง ๑ เมตร ยาว ๓๒ เมตร เป็นทรงไทยชั้นเดียว สิ้นทุนทรัพย์ไป แปดล้านเก้าแสนแปดหมื่นบาท ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ และได้ขอพระราชทานตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา องสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขึ้นประดิษฐานที่หน้าบันศาลาโรงธรรมนั้นด้วย และพระองค์ได้พระราชทานนามศาลาหลังนี้ว่า "ศาลาเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา บรมราชินีนาถ" เพื่อให้คู่พระบารมีจึงให้ชื่อว่า "ศาลามหาราชินี"
         ปึ พ.ศ. ๒๕๕๐ หลวงปู่ได้รับอาราธนาไปงานพุทธาภิเษก ที่วัดประยงค์กิตติ-วราราม กรุงเทพฯ มีโยมชื่อเอกได้นำพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นของพ่อที่เสียชีวิตไปแล้ว รักษาสืบต่อกันมา ๖๐ กว่าปี มาถวายหลวงปู่ หลวงปู่รับปากว่าจะสร้างเจดีย์บรรจุเอาไว้เพื่อเป็นที่กราบไหว้ของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย พระบรมสารีริกธาตุชุดนี้สวยงามมากไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน พอดีออกพรรษา ปี ๒๕๕๐ คณะญาติโยมลูกศิษย์นำกฐินมาทอดถวายเป็นกฐินสามัคคี ปีนั้นพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษาพอดี หลวงปู่จึงบอกลูกศิษย์ว่า ให้ชื่อกฐินกองนี้ว่า "กฐินกตัญญู" เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพื่อทดแทนคุณ แผ่นดิน ทอดถวายแล้วได้ จตุปัจจัย หนึ่งล้านหนึ่งแสนสามหมื่นหกพันหนึ่งร้อยหกสิบบาท หลวงปู่จึงปรารภกับคณะญาติโยมลูกศิษย์ทุกคนว่า อุโบสถ ศาลา และเสนาสนะ เรามีพอใช้แล้ว อยากสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่มีอยู่ ทุกคนเห็นพร้อมสาธุการจึงได้เอาปัจจัยนั้นลงรากฐานเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ โดยฐานกว้าง ๑๒ เมตร มณฑลสูง ๓๐ เมตรรวมฉัตร และมีเจดีย์บรรจุพระอรหันตธาตุ สูง ๘ เมตร อีก ๔ องค์ ประจำทั้ง ๔ มุม ก่อสร้างเรื่อยมาจนบัดนี้เสร็จเรียบร้อยดีงาม จึงเอามงคลนามที่ว่ากฐินกตัญญูนั้นมาตั้งเป็นชื่อเจดีย์นี้ว่า "พระธาตุกตัญญู" โดยสิ้นทุนทรัพย์ในการก่อสร้างไปทั้งหมดประมาณ สี่ล้านแปดแสนเก้าหมื่นสองพันห้าร้อยบาท เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์จึงให้ชื่อเจดีย์นี้ว่า "เจดีย์เจ้าฟ้า"
...โบสถ์มหาราชา ศาลามหาราชืนี เจดีย์เจ้าฟ้า...

   

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ :สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบึงกาฬ (สกร)

ที่อยู่ : 456 ม.1 ถ.บึงกาฬกลาง-บึงสวรรค์ ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ

โทรศัพท์ : 042492733

 

ไอพีคุณ
: 18.217.228.35
วันที่เริ่มนับ
: 10/01/2558
วันที่ปัจจุบัน
: 27/04/2567
ผู้ชมออนไลน์
: 14
จำนวนผู้เข้า
: 12922347