หน้าหลัก
บุคลากร
ภาพกิจกรรม
ระบบต่างๆ
ข่าวประชาสัมพันธ์
เว็บบอร์ด
เข้าสู่ระบบ
รายงานป้องกันยาเสพติด ชื่อกิจกรรม แผนงาน/โครงการ : โครงการ To Be Number One เพื่อความเป็น ๑ ไม่พึ่งยาเสพติด วัตถุประสงค์ กิจกรรม/แผนงาน/โครงการ ๑. โครงการ To Be Number One เพื่อความเป็น ๑ ไม่พึ่งยาเสพติด ๒. ความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา มาตรฐานที่ ๒ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ , ๒.๒ , ๒.๓ , ๒.๔ มาตรฐานที่ ๓ การบริหารการศึกษา ตัวบ่งชี้ที่ ๑ -๕ มาตรฐานที่ ๕ อัตลักษณ์ของสถานศึกษา ตัวบ่งชี้ที่ ๑ - ๒ สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ความสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สํานักงาน กศน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ นโยบายต่อเนื่อง ข้อที่ ๑. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ ข้อ ๑.๑ ข้อ ๑.๔ ข้อที่ ๖ นโยบายด้านการบริหารจัดการ ข้อ ๖.๑ ๓. หลักการและเหตุผล ตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ เป็นต้นมาโครงการ To Be Number One ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ดำเนินการ ใครติดยายกมือขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด แสดงตนเข้ารับการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ ฝึกพัฒนาอาชีพ ให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ กระทรวงสาธารณสุขยังไม่มีรูปแบบของการดำเนินงานตามแนวทางของโครงการ โดยเฉพาะโครงการ To Be Number One จึงเห็นควรสนองพระราชดำริขององค์ประธานโครงการฯ โดยจัดทำรูปแบบของการบำบัดรักษาผู้เสพและฟื้นฟูผู้เสพ ผู้ติด การดำเนินงานด้านการบำบัดรักษายังคงอิงระบบจิตสังคมบำบัดของกระทรวงสาธารณสุข พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี มูลนิธิวิมุตตยาลัย ได้ให้กรุณาแนะแนวทางการจัดทำหลักสูตร โดยใช้หลักธรรมพระพุทธศาสนาเป็นสาระสำคัญของการอบรม แนวคิดเรื่องการจัดค่ายอบรมฟื้นฟูจิตใจหลังการบำบัดรักษา อ้างอิงจากผลการศึกษาปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อการติดยาเสพติดซ้ำ (Personal Fact0rs Related to be Relapse Drug Users) โดย ดร.อาภาศิริ สุวรรณานนท์ และดร.รัตนา บรรณาธรรมและคณะ (๒๕๕๐) พบว่าปัจจัยด้านบุคคล เชิงลึกของผู้ติดยาเสพติดที่มีการกลับไปติดยาเสพติดซ้ำประการหนึ่งคือ การไม่มีเป้าหมายในชีวิต ทุกข์จากความเครียดในปัญหาต่าง ๆ และปัจจัยแตกต่างที่พบว่า ผู้ติดยาเสพติดซ้ำมีน้อยกว่าผู้เลิกยาเสพติดได้ คือ การมองเห็นคุณค่าตัวเองในความสำเร็จที่ผ่านมา ความภูมิใจและวิธีการแก้ปัญหาในปัจจุบัน ด้านการบำบัดคือ ต้องมีกิจกรรมให้คำปรึกษา กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้ป่วยรู้จักคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองและรู้จักตนเอง สามารถวางเป้าหมายและเกิดแรงจูงใจทางบวกต่อการดำเนินชีวิต บำบัดที่เหมาะกับลักษณะผู้ป่วย ต้องมีการรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โครงการ To Be Number One เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เป็น ๒ กลุ่ม ด้านการป้องกันเน้นผู้เสพ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา และด้านการแก้ไขและป้องกันการเสพซ้ำ เน้นกลุ่มติดยาในสถานพินิจฯ ซึ่งเป็นกลุ่ม Hard Core ทั้งนี้การดำเนินงานยังคงเน้นการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทางโครงการ To Be Number One ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงยุติธรรม โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ช่วงระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญต่อเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้มาก โดยได้ประกาศนโยบายฟื้นฟูค่านิยมในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาอยู่อย่างพอเพียง มุ่งเน้นการจัดระเบียบลด ปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งเสริมปัจจัยบวกสำหรับเยาวชน การพัฒนาเยาวชน เพิ่มกิจกรรมสร้างสรรค์เยาวชน เช่น การประกวดกิจกรรม การส่งเสริมสุนทรียศาสตร์ต่าง ๆ การเล่นดนตรี การอบรมพัฒนาคุณธรรม ครอบครัวสัมพันธ์ การสร้างเครือข่ายเยาวชน ฯลฯ ฉะนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาชมรม To Be Number One ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเซกาให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ศูนย์การศึกนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเซกา จึงได้จัดทำโครงการ To Be Number One เพื่อความเป็น ๑ ไม่พึ่งยาเสพติด ขึ้น ๔. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มนักศึกษา ๒. เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนในชุมชน สถานศึกษาและสถานประกอบการ จัดกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ๓. เพื่อสร้างแกนนำในสถานศึกษาเพื่อให้กลับไปสร้างเครือข่าย วิเคราะห์ปัญหาวัยรุ่นและพัฒนาทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๔. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเยาวชนสมาชิกให้มีความสมบูรณ์พร้อมตามหลักการพัฒนาของพุทธศาสนาได้แก่ กาย สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณ ๕. เป้าหมาย เชิงปริมาณ นักศึกษา กศน.ตำบล ๙ แห่ง จำนวน ๙๐ คน เชิงคุณภาพ ๑. นักศึกษา มีความความรู้และพัฒนาทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๒. นักศึกษาแต่ละตำบลเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน สร้างเครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กลุ่มเป้าหมาย : 90 คน ระยะเวลาดำเนินการ : 2017-08-03 ถึง 2017-08-04 งบประมาณที่ใช้ : 59993 บาท ตัวชี้วัดความสำเร็จ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ตัวชี้วัดผลผลิต ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน ๙๐ คน เข้าร่วมโครงการทุกคน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ๑๒.๑ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความความรู้และพัฒนาทักษะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่น การรักษาสิ่งแวดล้อม ๑๒.๒ นักศึกษาแต่ละตำบลเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน สร้างเครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภาคีเครือค่ายที่ร่วมจัดกิจกรรม เครือข่าย ๑๐.๑ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ ๑๐.๒ สาธารสุขอำเภอเซกา ๑๐.๓ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั้ง ๙ ตำบล ๑๐.๔ องค์การบริหารส่วนตำบลเซกา ๑๐.๕ สำนักงานเทศบาลตำบลศรีพนา ๑๐.๖ โรงพยาบาลอำเภอเซกา ๑๐.๗ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเซกา ๑๐.๘ ที่ว่าการอำเภอเซกา วันเวลาที่ลงข้อมูล 2017-08-23 17:38:43
รายละเอียด/รูปภาพ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ :สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดบึงกาฬ (สกร)
ที่อยู่ : 456 ม.1 ถ.บึงกาฬกลาง-บึงสวรรค์ ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
โทรศัพท์ : 042492733