สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาเพื่อเร่งรัด ส่งเสริม และพัฒนาให้หน่วยงานในสังกัดนำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดย
มีกลยุทธ์และจุดเน้นที่สำคัญหลายๆ ด้าน รวมทั้งพัฒนาการอ่านการเขียน
และการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ส่งเสริมให้นักเรียนชั้น ป.๑ - ๓
อ่านออกเขียนได้ ชั้น ป. ๔ - ๖ อ่านคล่องเขียนคล่อง ใช้ภาษาไทยมีประสิทธิภาพ
เพื่อการเรียนรู้สาระการเรียนรู้อื่น เพื่อการศึกษาต่อในระดับ
ที่สูงขึ้น และเพื่อการสื่อสารสื่อความคิดได้ตามเจตนารมณ์
แม้ว่าโรงเรียนหนองแดงสร้างประทายพัฒนา
ได้พยายามส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยมาอย่างต่อเนื่องก็ ตาม
นักเรียนส่วนหนึ่งก็ยังมีปัญหาด้านความสามารถการอ่านการเขียนภาษาไทย บางคนยังอ่านเขียนไม่คล่อง
ทั้งๆ ที่เรียนอยู่ในชั้น ป. ๔ - ๖ จึงทำให้เป็นปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของคณะครู
ในทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้ และส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่อ่อนด้อยตามไปด้วย
การอ่าน เป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ ทั้งที่เป็นการเรียนรู้ทางวิชาการและการรับรู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ
ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม แต่ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีนิสัยรักการอ่านน้อยมาก
ทำให้การพัฒนาด้านต่างๆ เป็นไปอย่างล่าช้า โรงเรียนจึงต้องส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการอ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องของนักเรียนทุกชั้น และเพื่อให้มีความสามารถด้านการฟัง
พูด อ่าน เขียน และคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นอย่าง
มีคุณภาพอีกด้วย เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
๑. เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียน
ภาษาไทยของนักเรียน
๒.เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับผู้เรียน
๑. วิเคราะห์สภาพปัญหา ครูประจำชั้น ป. ๑ - ๖ วิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันของนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่คล่องเขียนไม่ คล่องของแต่ละชั้น
๒. กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ ได้กำหนดให้นักเรียนชั้น ป.๔-๖ นำเสนอภาษาไทยวันละคำที่หน้าแถวตอนเช้าทุกวัน โดยนำเสนอวันละ ๑ ชั้น
เช่น ชั้น ป.๔ นำเสนอ ในวันจันทร์ ชั้น ป.๕ นำเสนอใน วันอังคารและวันพุธ ชั้น ป.๖ นำเสนอในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ โดยนักเรียนจะเขียนคำ คำอ่าน
ความหมาย บนแผ่นกระดาษ เอ ๔ แล้วอ่านแบบสะกดคำและแจกลูก ให้นักเรียนทุกคนอ่านตาม ๒ รอบ เสร็จแล้วติดบัตรคำที่อ่านไว้ที่ป้ายหน้าห้องสมุดของโรงเรียน
จากนั้นนักเรียนชั้น ป.๑ - ๖ ทุกคนจะมาจดคำที่อ่านลงในสมุดบันทึกภาษาไทยวันละคำ กิจกรรมนี้นอกจากได้รับความรู้แล้ว ยังฝึกให้นักเรียนกล้าพูด
กล้าแสดงออกอีกด้วย
๓. การจัดทำบันทึกการอ่าน กำหนดเวลาหลังจากเข้าแถว ประมาณ ๐๘.๔๐ - ๐๘.๕๕ นักเรียนชั้น ป.๑ - ๖
ทุกคนอ่านหนังสือจากห้องสมุด และมุมหนังสือในห้องเรียน เมื่ออ่านจบเรื่องนักเรียนจดบันทึกลงในสมุดบันทึกการอ่านของนักเรียนแต่ คน
เมื่อสิ้นภาคเรียนครูจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการเรียนในวิชาภาษา ไทย
๔. การจัดป้ายนิเทศให้ความรู้ จัดเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ และวันสำคัญต่างๆ ที่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
รวมถึงมีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนแล้วให้นักเรียนมีส่วน ร่วมทุกคน เช่น ประกวดเรียงความ คำขวัญ บทร้อยกรอง ฯลฯ
๑. ครูที่สอนวิชาภาษาไทยทุกคนตระหนักและเห็น
ความสำคัญของปัญหานักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง จึง
ร่วมใจกันแก้ไขปัญหา
๒. นักเรียนให้ความสนใจใฝ่เรียนรู้ เห็นคุณค่าการใช้
ภาษาไทยได้ถูกต้องและสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
๓. ผู้บริหารสถานศึกษามีการควบคุม นิเทศ ติดตาม
อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
|